เว็บไซต์ Error ขึ้นสถานะ 404 Status Code คืออะไร? มีวิธีแก้ไขยังไง?
Apr 7, 2023
สำหรับคนที่เข้าใช้งานเว็บไซต์เป็นประจำ หรือคนทำเว็บไซต์ เชื่อว่าจะต้องเคยเจอปัญหาการแสดงผลผิดพลาด หรือ Error ที่มีชื่อว่า 404 Page Not Found โดยจะมีข้อความขึ้นประมาณว่า “404. That’s an error.” ซึ่งอาจทำให้หลายคนสงสัยได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นอะไรหรือเปล่า เมื่อกี้ยังเข้าเว็บไซต์อื่นได้ตามปกติอยู่เลย เอาล่ะ! วันนี้เราจะมาไขข้องสงสัยให้กับทุกคนว่า Error Code ที่มีชื่อว่า 404 Status Code คืออะไร? แล้ว Error 404 Not Found แปลว่าอะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อต้องเจอกับปัญหา 404 Not Found แก้ยังไงได้บ้าง? ไปดูกันเลย
404 Status Code คือ
รหัส 404 Status Code คือ หนึ่งใน HTTP Status Code ซึ่งเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (Internet Assigned Numbers Authority - IANA) แสดงผลเพื่อให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต รวมถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ได้รับทราบถึงปัญหาการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์นั้นๆ การที่เว็บไซต์ได้แสดงสถานะ 404 Status Code โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะขึ้นข้อความ “404 Not Found” ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงหน้าเว็บไซต์นั้นได้
404 Not Found คือ
หากเปิดเข้าเว็บไซต์หนึ่งแล้วพบข้อความว่า 404 Not Found หรือ Error 404 นั่นหมายถึง หน้าเว็บไซต์มีการแสดงผลผิดพลาด จากการทำงานของ bot เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วไม่พบลิงก์ หรือ URL ของเว็บไซต์เหล่านั้น จึงไม่สามารถเรียกไฟล์ขึ้นมาได้ เนื่องจากไม่มีไฟล์ของหน้าเว็บไซต์นั้นอยู่บน Server ก็ทำให้หน้าเว็บไซต์แสดงผลออกมาให้รูปแบบ Error 404 Not Found แปลว่า ลิงก์เสียนั่นเอง หากผู้ใช้งานเจอปัญหาเหล่านี้ ก็จะทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานเว็บไซต์นั้นได้ จึงทำให้หลายคนเลือกที่จะไม่เข้าเว็บไซต์นั้นอีก
404 Not Found เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร
โดยส่วนใหญ่ปัญหา Error 404 มักเกิดขึ้นบ่อยๆ กับเว็บไซต์ E-Commerce มากเป็นอันดับต้นๆ โดยสาเหตุที่ทำให้หน้าเว็บไซต์ 404 Not Found มีด้วยกันหลากหลายสาเหตุ เราได้สรุปมาให้ดังนี้
-
การเปลี่ยนชื่อ URL
หากเว็บไซต์มีการปรับเปลี่ยน แก้ไขเนื้อหาข้อมูลภายในเว็บไซต์ แล้วต้องการเปลี่ยนชื่อ URL ให้ตรงกับเนื้อหาที่ได้เปลี่ยนใหม่ หลายคนจึงเปลี่ยนชื่อ URL ใหม่ โดยที่ลิงก์เก่านั้นก็จะกลายเป็นลิงก์เสีย หากก่อนหน้านี้คุณได้นำลิงก์ไปแปะไว้ที่เว็บไซต์ไหน หรือลิงก์นั้นได้ติดอันดับอยู่บน Google แล้ว เมื่อคนคลิกลิงก์ จะพบหน้า Error 404 นั่นเอง นอกจากนี้ การเปลี่ยนชื่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ก็ทำให้เป็นลิงก์เสียได้เหมือนกัน
-
การลบหน้าเพจ
การลบหน้าเพจก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของปัญหา 404 Not Found โดยเฉพาะเว็บไซต์ E-Commerce เนื่องจากเวลาที่มีปรับเปลี่ยนรูปแบบการขาย หรือ ยกเลิกขายสินค้า ส่วนใหญ่จะลบหน้าสินค้านั้นออกไป ทำให้ลิงก์เดิมกลายเป็นลิงก์เสียทันที และเมื่อลูกค้าคลิกลิงก์เดิม ทำให้ไม่เจอสินค้าหน้านั้น อาจจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจได้ แนะนำว่าควรเลือกตั้งชื่อ URL แบบกลางๆ ไว้ก่อน เพื่อให้สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ หรือใช้เป็น URL ประเภทของสินค้าไปเลย เพื่อเวลาเปลี่ยนสินค้าจะได้ใช้ลิงก์เดิมได้ โดยไม่ต้องลบหน้าเพจนั้นๆ
-
สร้างเว็บไซต์ใหม่ บนโดเมนเก่า
อีกหนึ่งปัญหาของการเกิดปัญหา 404 Not Found คือ การสร้างเว็บไซต์ใหม่ เปลี่ยนแปลงเนื้อหาข้อมูล โดยที่ใช้โดเมนเก่าอยู่ จึงทำให้ลิงก์เดิมที่เคยใช้กลายเป็นลิงก์เสียไป แน่นอนว่าหลายคนเมื่อมีโดเมนเดิมอยู่และอยากสร้างเว็บไซต์ใหม่ จึงเลือกใช้โดเมนเดิม เพราะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่สิ่งที่ได้มาอาจจะต้องเจอลิงก์เสีย
-
ข้อมูล Database ยังไม่ได้อัปเดต
แน่นอนเมื่อมีการย้ายเนื้อหาข้อมูลเว็บไซต์จากโดเมนนึง ย้ายเข้าไปอยู่ในอีกโดเมนนึง สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ย้ายข้อมูลเว็บไซต์เสร็จแล้ว เมื่อเปิดเข้าไปหน้าเว็บไซต์ก็สามารถเปิดได้ แต่จะเปิดได้แค่หน้าแรก แต่พอคลิกไปหน้าอื่นๆ อาจจะเปิดไม่ได้ แล้วหน้าเว็บขึ้นข้อความ 404 Not Found เพราะว่ามีปัญหาเกี่ยวกับ Database ที่ยังไม่ได้มีการอัปเดตนั่นเอง วิธีแก้ไขง่ายๆ หลังจากย้ายเว็บไซต์เสร็จแล้ว ให้อัปเดต Database ก่อนทุกครั้ง
-
สาเหตุมาจาก Web Hosting ที่มีปัญหา
การเลือกใช้ Web Hosting ถือมีความสำคัญมากสำหรับการสร้างเว็บไซต์มากๆ อย่างถ้าใครที่ต้องทำเว็บไซต์ที่อยู่บน WordPress จำเป็นต้องรู้ก่อน การสร้างเว็บไซต์บน WordPress ว่าจะควรเลือก Web Hosting ไหนที่สามารถรองรับ WordPress ซึ่งอาการ 404 Page Not Found คือเข้าเว็บหน้าแรกได้ตามปกติ แต่พอคลิกเข้าไปดูเนื้อหาในหน้าอื่นๆ บนเว็บไซต์ อาจจะไม่สามารถเข้าได้ ยิ่งตั้ง URL เป็นภาษาไทย ส่วนใหญ่จะไม่สามารถเข้าเว็บได้ วิธีแก้ง่ายๆ ควรเลือก Hosting ที่รองรับการสร้างเว็บด้วย WordPress ภาษาไทยได้
เช็ค! หน้าเว็บไซต์เกิด 404 Not Found ได้อย่างไร
แน่นอนปัญหาการเกิด 404 Not Found คือ หากไม่ได้คลิกเข้าไปที่ลิงก์นั้น อาจจะทำให้เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลิงก์กลายเป็นลิงก์เสีย ที่ใครคลิกเข้ามาต้องพบกับข้อความ “404 Not Found” ดังนั้น จึงมีหลายเครื่องมือที่สามารถให้คุณตรวจเช็คลิงก์ได้ ดังนี้
-
การใช้ Google Search Console
เครื่องมือแรกที่อยากแนะนำนั่นก็คือ Google Search Console ถือเป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ ที่สามารถทำได้หลากหลายมาก ๆ และยังสามารถใช้หาหน้า Error 404 Not Found ได้ด้วย ทั้งนี้เบื้องต้นคุณจะต้องทำการ Submit URL Website หรือ การลงทะเบียนเว็บไซต์ ใครที่เพิ่ง Submit URL ครั้งแรกนั้น อาจจะต้องให้ Google ใช้เวลา 1 - 2 วัน ในการประมวลผลข้อมูล
วิธีตรวจเช็คหน้า Error 404 Not Found ผ่าน Google Search Console
- คลิกที่ “ดัชนี”
- คลิกที่ “ความครอบคลุม” หรือเมนูภาษาอังกฤษ “Index”
- คลิกที่ “Coverage” ระบบจะแสดงปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ภายในหน้าเว็บไซต์ของคุณมาให้ทันที
- คลิกที่ “ไม่พบ URL ที่ส่ง (404)” หรือ “soft 404 pages” ระบบจะบอกว่ามีลิงก์ไหนบ้าง ในเว็บไซต์ของคุณที่เป็นหน้า 404 Page not found
-
การใช้ Google Analytics ในการค้นหา Error 404 Not Found
Google Analytics อีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาหน้า Error 404 Not Found ถ้าใครเลือกใช้เครื่องมือนี้ ให้คุณทำการ Tracking โดยเลือกใช้โค้ดนี้
<script> ga(‘send’, ‘pageview’, ‘404.html?page=’+ document.location.pathname + document.location.search +’&from=’ + document.referrer); </script>
โดยที่ document.location.pathname + document.location.search คือ URL ของหน้าเว็บไซต์ที่ไม่พบในหน้าเว็บไซต์ และ document.referrer คือ URL ของหน้าที่ทำการ Redirect ไปแล้ว
วิธีเช็ค URL ที่เกิด 404 Not Found ผ่าน Google Analytics
- คลิกที่ Behavior>Site content>all page>page title
- จากนั้นให้ filter คำว่า “404” แล้วจะพบกับ URL ทั้งหมดที่ทำให้เกิดปัญหา 404 error page
-
การใช้ Ubersuggest เครื่องมือช่วยทำ SEO จาก neilpatel.com
Ubersuggest อีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถเช็คปัญหา 404 error page ที่นิยมใช้กัน ซึ่งวิธีการใช้งานง่ายมากๆ เพียงแค่ Copy ลิงก์เว็บไซต์มาวางไว้ แล้วกด Search ระบบก็จะวิเคราะห์เว็บไซต์ทั้งหมด จะใช้เวลาประมาณ 3 นาทีเท่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเว็บไซต์มีมากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้ เมื่อระบบวิเคราะห์เสร็จสิ้นแล้ว ให้เลื่อนลงมาที่ด้านล่างของเว็บไซต์ ส่วนของปัญหาทำให้เกิด 404 error page ให้คลิกไปที่คำว่า “SEE ALL ISSUES” เพียงแค่นี้ก็สามารถดูปัญหาทั้งหมดได้ เนื่องจากระบบจะบอกว่าหน้าเว็บไซต์ที่ Error 4XX มีหน้าเว็บไซต์ไหนบ้าง เมื่อเจอหน้าที่เกิด Error 404 ให้แจ้งไปที่ Web Devoloper เพื่อให้ทำ Redirect ไปยังหน้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับหน้าที่เกิด Error
วิธีเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์จาก ERROR 404 ให้เป็น POWER
เมื่อตรวจเช็คแล้วว่ามีหน้าเว็บไซต์ไหนบ้าง ที่เกิดปัญหา 404 Not Found แทนที่ปล่อยให้เว็บไซต์เสียไปเฉยๆ ลองเปลี่ยนมาให้เว็บไซต์หน้านั้น ช่วยแนะนำให้กับผู้ใช้งานเว็บไซต์ควรทำอย่างไรต่อไป เมื่อจะต้องเจอกับลิงก์ขึ้น Error 404 เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน อีกทั้งคุณยังสามารถแนะนำให้ผู้ใช้งานคลิกดูเนื้อหาหรือสินค้าไปที่หน้าเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งดีกว่าการปล่อยให้ลิงก์เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
-
ทำการ Redirect หน้า Error 404 Not Found
วิธีแก้ไขเบื้องต้นได้ง่าย ๆ คือให้ทำการ Redirect โดยการบอกให้ Google รู้ว่าหน้าเว็บไซต์กำลังเจอกับปัญหา 404 Not Found นั้น ได้ถูกเปลี่ยนไปยังอีกหน้าเว็บไซต์หนึ่งแล้ว โดยให้คุณระบุหน้าเว็บไซต์ใหม่ลงไปด้วยเลย ซึ่งวิธีแก้ไขนี้ให้ใช้ปลั๊กอินที่ชื่อ Redirection ให้ทำการติดตั้งปลั๊กอินดังกล่าว จากนั้นทำการใส่ลิงก์ URL ที่เป็น 404 และ URL ใหม่ลงไปในระบบ จากนั้นให้บันทึกได้เลย
-
ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ที่เกิด 404 Not Found
อีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ในการแก้ไขเมื่อเว็บไซต์เกิด Error 404 Not Found ให้ทำหน้าเว็บไซต์ 404 โดยการเพิ่มลิงก์แนะนำไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นๆ ลงไปด้วย เพื่อลดโอกาสการเกิด Bounce Rate หรือการที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์ออกจากเว็บเราไปทันทีเพราะคิดว่าลิงก์นี้เสีย ซึ่งวิธีการแก้ไขหน้านั้นที่ไฟล์ 404.php มาแทนที่จะแสดงข้อมูลเพียงคำว่า 404 Page Not Found โดยให้มีลิงก์ด้านล่างเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถคลิกยังหน้าเว็บอื่นๆ ได้
ปัญหา 404 Page Not Found สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเว็บไซต์ แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้เว็บไซต์ของเราต้องมาเจอกับปัญหาเหล่านี้จริงไหม? แต่ถ้าหากเว็บไซต์เรามีหน้า 404 Not Found จำนวนมาก ก็ไม่ต้องตกใจจนเกินไป เนื่องจากข้อผิดพลาดเหล่านี้ Google ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไหร่มากนักในการทำ SEO เพียงแต่ว่าจะเป็นปัญหาของผู้ใช้งาน ใครที่เจอปัญหา 404 Not Found ลองแก้ไขตามวิธีที่แนะนำได้เลย หากสนใจอยากเรียนรู้การพัฒนาเว็บไซต์และเขียนโปรแกรม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ TechUp ได้เลย เรามีอาจารย์ที่มีประสบการณ์เป็น Software Developer จากบริษัทชั้นนำในไทย พร้อมให้คำปรึกษากับทุกคน!